Science portfolio for early childhood semester 1/2020
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563
สรุปตัวอย่างการสอน
ไข่ดี มีประโยชน์
โดย โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ และเด็กสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
ครูเล่านิทานเรื่อง "ไข่ของใคร" ในขณะเล่านิทานเด็กได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ทำให้เด็กกล้าแสดงออกและมีประสบการณืเพิ่มมากขึ้น และการเอาภาพสัตว์มาให้เด็กดูเพื่อให้เด็กรู้ว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไรเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมเข้าใจได้ง่าย
กิจกรรมต่อมาให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร มีอะไรบ้างที่เหมือนกันแตกต่างกัน นอกจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังสามารถบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้โดยเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การนับ เปรียบเทียบ มากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน หลังจากเด็กได้เรียนรู้ลักษณะภายนอกของไข่แล้ว ต่อมาเด็กได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไร เช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำ ไข่เค็มเนื้อของไข่ขาวจะมีสีขาว เด็กจะได้สังเกตว่าไข่ขาวของไข่เค็มและไข่เยี่ยวม้ามีความแตกต่างกันอย่างไร
สรุปงานวิจัย
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2557
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทยาอรุโณทัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยวิธีการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 2 ห้องเรียนและจับฉลากนักเรียนมาจำนวน 15 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน วันละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test แบบ Dependent Sample และขนาดส่งผลด้วยสูตรของ Cohen
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแบบทดสอบข้อคำถามเชิงรูปภาพ เป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือกโดยตัวเลือกเป็นรูปภาพ และแบ่งเป็น 3 ชุดๆละ 15 ข้อ รวม 45 ข้อดังนี้
2.1 ชุดที่ 1 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนกประเภท จำนวน 15 ข้อ
2.2 ชุดที่ 2 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจัดประเภท จำนวน 15 ข้อ
2.3 ชุดที่ 3 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านอนุกรม จำวนวน 15 ข้อ
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คะแนนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมากส่วนรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดีมากเรียงตามลำดับ ด้านการจำแนกประเภท ด้านอนุกรม และด้านการจัดประเภท และหลังจากจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยในภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปบทความ
สอนลูกเรื่องพืชน้ำ (Teaching children about Aquatic plant)
ของ ผศ.ดร.บุบผา เรืองรอง
การสอนลูกเรื่องพืชน้ำ หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่เจริญเติบโต และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่แตกต่างกัน 3 ที่คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย โดยพืชน้ำบางชนิดอาจจะจมอยู่ใต้น้ำเลย หรือมีบางส่วนของพืชโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ พืชบางชนิดจะมีส่วนต่างๆลอยน้ำ และพืชบางชนิดเจริญเติบโตบริเวณที่มีน้ำขัง หรือริมตลิ่งก็ได้ ซึ่งเรียกว่าพืชริมน้ำ ตัวอย่างพืชน้ำเช่น ข้าว กระจับ จอก แหน บัว ผักบุ้ง โสน ผักกระเฉด สาหร่าย โกงกาง กก จาก ธูปฤษี การจัดกิจกรรมการสอนเด็กเรื่องพืชน้ำทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านสอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้เรื่องธรรมชาติรอบตัวเพื่อให้เด็กเกิดประสบการณ์สำคัญที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การสอนเรื่องพืชน้ำมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้
-เด็กได้รับการส่งเสริมให้รู้จักธรรมชาติของพืชน้ำจากประสาทสัมผัสในร่างกายของตนเองซึ่งเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวผ่านกิจกรรมที่ครูและพ่อแม่จัดให้
-เด็กได้รับการปลูกฝังให้สังเกตความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นๆว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร
-เด็กได้รับการฝึกฝนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมและสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับพืชน้ำเพื่อให้เด็กเป็นผู้รู้จักคิดและแก้ปัญหาเป็น
-เด็กได้รับการส่งเสริมประสบการณ์ที่เกี่ยวกับพืชน้ำจากกิจกรรมต่างๆทำให้เด็กเกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เช่น เกิดความรู้สึกพึงพอใจ สนใจ ชื่นชมที่จะแสวงหาความรู้เรื่องพืชน้ำด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
-เด็กจะได้โอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับพืชน้ำผ่านงานหรือการเล่นของเขา
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1วันศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบายองค์ประกอบของบล็อคและชี้แจงรายวิชาและได้มอบหมายงาน
1. งานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. ตัวอย่างการสอน
กิจกรรม
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Research งานวิจัย
2. Learning การเรียนรู้
3. Teaching materials สื่อการสอน
4. Science วิทยาศาสตร์
5. The experiment การทดลอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
คลิปการนำเสนอวิจัย
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...
-
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...
-
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 13:30-17:30 น. (เรียนชดเชยของวันศุกร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2563 ) เนื้อหาที่เ...