การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2557
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทยาอรุโณทัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยวิธีการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 2 ห้องเรียนและจับฉลากนักเรียนมาจำนวน 15 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน วันละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test แบบ Dependent Sample และขนาดส่งผลด้วยสูตรของ Cohen
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแบบทดสอบข้อคำถามเชิงรูปภาพ เป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือกโดยตัวเลือกเป็นรูปภาพ และแบ่งเป็น 3 ชุดๆละ 15 ข้อ รวม 45 ข้อดังนี้
2.1 ชุดที่ 1 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนกประเภท จำนวน 15 ข้อ
2.2 ชุดที่ 2 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจัดประเภท จำนวน 15 ข้อ
2.3 ชุดที่ 3 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลด้านอนุกรม จำวนวน 15 ข้อ
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คะแนนการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมากส่วนรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดีมากเรียงตามลำดับ ด้านการจำแนกประเภท ด้านอนุกรม และด้านการจัดประเภท และหลังจากจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยในภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น