บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
หลักการจัดประสบการณ์
1.สิ่งที่เด็กสนใจ
2.สิ่งใกล้ตัวเด็ก
3.สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก
4.หลักสูตร
การจัดประสบการณ์ต้องคำนึงถึง
-พัฒนาการ พัฒนาการคือความสามารถของเด็กที่แสดงออกมาในแต่ละช่วงอายุ
-ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการแต่ละขั้นมีความสำคัญมากเพราะว่ามีผลต่อพัฒนาการขั้นต่อไป
ความพร้อมของสมอง
-อาหาร
-อากาศ
-น้ำ
-การพักผ่อน
ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
พัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสาคัญ 2อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation)
ขั้นที่ 1ขั้นประสาทรับรู้ Sensorimotor (แรกเกิด-2ขวบ)
วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ขั้นที่2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด Preoperational (อายุ18 เดือน - 7 ปี)
เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด
ขั้นที่3 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม Concrete Operations (อายุ 7 - 11 ปี)
เด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์ และตั้งกฎเกณฑ์ ในการ แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและความสัมพันธ์ของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจากัดหลายอย่าง
ขั้นที่4 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดด้วยนามปธรรม Formal Operations (อายุ 12 ปีขึ้นไป)
เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Brain readiness ความพร้อมของสมอง
2. Relaxation การพักผ่อน
3. Effect ผลกระทบ
4. Continuity ความต่อเนื่อง
5. Reversibility การคิดย้อนกลับ
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับหลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์อย่างละเอียด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยตอบคำถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น