วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 

วันศุกร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

เด็กปฐมวัย 
-วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
-วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต
-แสวงหาความรู้ความสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.ทักษะการสังเกต
-การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
-การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
-การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2.ทักษะการจำแนกประเภท
-ความเหมือน
-ความแตกต่าง
-ความสัมพันธ์ร่วม

3.ทักษะการสื่อสารความหมาย
-บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
-บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
-บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
-จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

4.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

5.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
-ชี้บ่งภาพ 2 มิติและ 3 มิติ
-บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
-บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา

ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์ ?
-มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
-หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
-ความจำเป็นที่ต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สมองกับวิทยาศาสตร์
1.ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2.หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้้นเพื่อสืบค้นความจริง
3.ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4.จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

คุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2.ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม คำถามที่มักใช้ 5W 1H
3.ความสามารถในการลงความเห็น
4.ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.สิ่งที่กำหนดให้
2.หลักการหรือกฏเกณฑ์
3.การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Similarlties   ความเหมือน
2. Differences   ความแตกต่าง
3. Interrelationships   ความสัมพันธ์
4. Inferring   การลงความเห็น
5. Space   พื้นที่

การประเมิน 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจอธิบายเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินตนเอง : 
ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย ตอบคำถามอาจารย์และช่วยเพื่อนทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ


วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันศุกร์ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้หรือหาความจริงหรือใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1. การตั้งปัญหา
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
3. การตั้งสมมติฐาน
4. การทดลองพิสูจน์
5. การสรุปผล

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
-ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปสัมผัสโดยตรกับวัตถุหรือปรากฎการณ์ต่างๆ
-ทักษะการจำแนกประเภท คือ ความสามารถในการจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุออกเป็นหมวดหมู่ โดยอาจจะใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง 
-ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การให้คำอธิบายคำตอบล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลก่อนที่จะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องนั้นๆ
-ทักษะการทดลอง คือ กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ การทดลองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน การออกแบบการทดลอง  การปฏิบัติการทดลอง  การบันทึกผลการทดลอง

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Experimenting   ทักษะการทดลอง
2. Formulating hypothesis  ทักษะการตั้งสมมติฐาน
3. Classification  การจำแนกประเภท 
4. Observation  การสังเกต
5. Using numbers  ทักษะการคำนวณ

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจฟังที่นักศึกษาออกไปทำการทดลองและได้อธิบายเสริมเกี่ยวกับหลักการทดลองวิทยาศาสตร์
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจดูที่เพื่อนออกไปทดลองและตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินตนเอง : ตั้งใจดูที่เพื่อนออกไปทดลองและตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย



บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 
วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน  

หลักการจัดประสบการณ์
1.สิ่งที่เด็กสนใจ
2.สิ่งใกล้ตัวเด็ก
3.สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก
4.หลักสูตร

การจัดประสบการณ์ต้องคำนึงถึง
-พัฒนาการ พัฒนาการคือความสามารถของเด็กที่แสดงออกมาในแต่ละช่วงอายุ 
-ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการแต่ละขั้นมีความสำคัญมากเพราะว่ามีผลต่อพัฒนาการขั้นต่อไป

ความพร้อมของสมอง
-อาหาร
-อากาศ
-น้ำ
-การพักผ่อน

ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
  พัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสาคัญ 2อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation)

ขั้นที่ 1ขั้นประสาทรับรู้ Sensorimotor  (แรกเกิด-2ขวบ)
วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย

ขั้นที่2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด Preoperational (อายุ18 เดือน - 7 ปี)
 เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น เด็กจะได้รู้จักคิด  
               
ขั้นที่3 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม Concrete Operations (อายุ 7 - 11 ปี)
เด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์ และตั้งกฎเกณฑ์ ในการ แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและความสัมพันธ์ของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจากัดหลายอย่าง

ขั้นที่4 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดด้วยนามปธรรม Formal Operations (อายุ 12 ปีขึ้นไป)
เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Brain readiness   ความพร้อมของสมอง
2. Relaxation   การพักผ่อน
3. Effect   ผลกระทบ 
4. Continuity   ความต่อเนื่อง 
5. Reversibility   การคิดย้อนกลับ

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับหลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์อย่างละเอียด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และช่วยกันตอบคำถาม 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยตอบคำถาม


คลิปการนำเสนอวิจัย

การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์  ของ   สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...