การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
EAED3207 Science Provision for Early Childhood
Science portfolio for early childhood semester 1/2020
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
คลิปการนำเสนอวิจัย
ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2557
คลิปการทดลอง “ขวดโหลสีรุ้ง”
การทดลอง “ขวดโหลสีรุ้ง”
อุปกรณ์การทดลอง
1.น้ำสี
2.น้ำมันพืช
3.แอลกอฮอล์
4.ขวดโหล
วิธีการทดลอง
1.เทน้ำสีใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
2.ค่อยๆเทน้ำมันพืชลงไปปล่อยให้ไหลไปตามแถบภาชนะ
3.เทแอลกอฮอล์ลงบนน้ำมันพืชอย่างเบามือ
ผลการทดลอง
จะเห็นของเหลวที่เราเทลงไปนั้นเกิดการแยกตัวออกเป็น 3 ชั้นอย่างชัดเจน เนื่องจากน้ำสี น้ำมันพืช และแอลกอฮอล์มีความหนาแน่นต่างกันซึ่งสารที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าจะลอยอยู่เหนือสารที่มีความหนาแน่นสูงกว่า ไม่สามารถผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันได้
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุด
การทดลองวิทยาศาสตร์ครูต้องเริ่มจากการตอบคำถามของเด็กๆ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก
1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ
2.อุปกรณ์การทดลอง
3.การนำเข้ากิจกรรม
4.เริ่มกิจกรรม
5.ขั้นสรุป
6.การบูรณาการ
การกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง
กิจกรรม
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนทำมายแมพหน่วยการเรียนรู้และออกแบบการทดลอง
ที่เกี่ยวข้องกับหน่วย
"การทดลองไข่ลอยไข่จม"
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Water resources แหล่งน้ำ
2. Float ลอย
3. Dam เขื่อน
4. Accident อุบัติเหตุ
5. Travel การท่องเที่ยว
การประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจอธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำมายแมพและการออกแบบการทดลอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและแก้ไขงานตามที่อาจารย์แนะนำ
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและแก้ไขงานตามที่อาจารย์แนะนำ
คลิปการทดลอง “การหักเหของแสง”
คลิปการทดลอง เรื่องการหักเหของแสง✨
การหักเหของแสง คือ การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนจากแนวเดิม
การทดลอง รูปวาดที่หายไป
อุปกรณ์
1. กระดาษ
2. ซองพลาสติก
3. แก้วน้ำ
4. ปากกาสี
วิธีการทดลอง
1.วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ
2.นำภาพที่วาดเสร็จแล้วใส่ซองพลาสติก
3.นำซองพลาสติกจุ่มลงในน้ำที่เตรียมไว้
4.สังเกตการหักเหของแสง
ผลการทดลอง
การที่เราเห็นวัตถุเกิดจากแสงจากวัตถุที่เข้าตาเราจากแสงวัตถุในน้ำที่เข้าตาเราจะมีการเบนเมื่อแสงจากน้ำสู่อากาศ
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
(วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 12:30)
เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4.ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนาน และความพอใจ
5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
บทบาทของครู
1. หาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมี
2.จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม
3. จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
4.ควรมีการแนะนำวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจหรืออยากเข้ามาจับต้อง
5. ครูควรส่งเสริมด้านการสำรวจค้นคว้าของเด็ก
6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้หาสาระการเรียนรู้อื่นๆ
7. การสรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ
การสอนวิทยาศาสตร์ครูจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก
2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์
3. วางแผนจัดประสบการณ์
4. เลือกวัสดุอุปกรณ์
5. การสอน
6. การประเมิน
ภาพกิจกรรม
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก
เทคนิคการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากการทดลองด้วยนิทานเรื่อง“สุนัขจิ้งจอกกับเงา”ซึ่งในนิทานเราสามารถนำมาทำการทดลองที่บ้านได้โดยกิจกรรมนี้จะเกี่ยวกับเรื่อง”แสงและเงา”
ผู้ปกครองสามารถทำตามได้ง่ายๆโดยชวนกันวัดขนาดของเงา
การสังเกตเงา(เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์)การนำวัตถุในบ้าน
มาติดไฟฉายส่องไปที่ผนังแต่งนิทานสร้างเรื่องราวหรือเล่นละครกับลูกซึ่งขณะเล่นกับลูก หากผู้ปกครองได้สังเกตพัฒนาการด้านต่างๆของลูกเช่นภาษาดูว่าการฟังการพูดเป็นอย่างไรลูกกล้าแสดงออกมีความเชื่อมั่นในตนเองเพียงใดการคิดและจินตนาการหลากหลายหรือไม่การร่วมเล่นสนุกกับลูกๆจึงให้ประโยชน์อย่างนึกไม่ถึงทีเดียวที่สำคัญส่งผลต่อความรักความอบอุ่นและความสุขในครอบครัวด้วย
คุยกับลูก “ถ้าหนูเป็นสุนัขจิ้งจอก หนูจะท้าทายเสือหรือไม่…เพราะอะไร”
บทสรุป “เห็นมั๊ยจ๊ะ การหลงตัวเองคิดว่ายิ่งใหญ่เหนือใครๆนั้นอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในภายหลังได้ดังนั้นถ้าหนูพบว่าผู้อื่นมีความแตกต่างกับเราหนูไม่ควรไปเปรียบเทียบและพูดจาดูหมิ่นเขา”
บทสรุป “เห็นมั๊ยจ๊ะ การหลงตัวเองคิดว่ายิ่งใหญ่เหนือใครๆนั้นอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในภายหลังได้ดังนั้นถ้าหนูพบว่าผู้อื่นมีความแตกต่างกับเราหนูไม่ควรไปเปรียบเทียบและพูดจาดูหมิ่นเขา”
เล่นกับลูก ชวนลูกวัดขนาดเงา
วัสดุอุปกรณ์
1. ไฟฉาย
2. วัตถุภายในบ้าน เช่น ตุ๊กตา ของเล่น
วิธีการเล่น
1.ปิดไฟในห้องให้มืดสนิทหรือมีแสงน้อยที่สุด
2.นำวัตถุภายในบ้านมาวางในระยะห่างกันครึ่งไม้บรรทัดมาติดไฟฉายแล้วส่องไปที่ผนังแล้ว ให้ภาพไปสะท้อนลงบนกำแพง
3. ถามลูกว่าเพราะเหตุใดเงาถึงมีขนาดแตกต่างกัน
4. ให้ลูกลองส่องไฟฉาย
ผลการทดลอง เงาเกิดจากแสงที่ส่องผ่านวัตถุไม่ได้ ทำให้เกิดพื้นที่มืดหลังวัตถุนั้น ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับแสงเสมอ ระยะห่างและทิศทาง ระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและวัตถุ มีผลต่อขนาดและรูปร่างของเงา
วัสดุอุปกรณ์
1. ไฟฉาย
2. วัตถุภายในบ้าน เช่น ตุ๊กตา ของเล่น
วิธีการเล่น
1.ปิดไฟในห้องให้มืดสนิทหรือมีแสงน้อยที่สุด
2.นำวัตถุภายในบ้านมาวางในระยะห่างกันครึ่งไม้บรรทัดมาติดไฟฉายแล้วส่องไปที่ผนังแล้ว ให้ภาพไปสะท้อนลงบนกำแพง
3. ถามลูกว่าเพราะเหตุใดเงาถึงมีขนาดแตกต่างกัน
4. ให้ลูกลองส่องไฟฉาย
ผลการทดลอง เงาเกิดจากแสงที่ส่องผ่านวัตถุไม่ได้ ทำให้เกิดพื้นที่มืดหลังวัตถุนั้น ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับแสงเสมอ ระยะห่างและทิศทาง ระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและวัตถุ มีผลต่อขนาดและรูปร่างของเงา
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Develop พัฒนา
2. Communication การสื่อสาร
3. Parents ผู้ปกครอง
4. Tale นิทาน
5. Technique เทคนิค
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
"คุณสมบัติของอากาศ"
อากาศมีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือ เป็นสสาร มีมวล มีตัวตน ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ อากาศมีความหนาแน่น มีความดัน มีความชื้น และมีระดับอุณหภูมิ
ลูกยางมีน้ำหนักเบา มีปีกยาวโค้ง 2 ปีกวางตัวอยู่ตรงกันข้าม เพื่อสร้างความสมดุลเมื่อตกจากต้นไม้สูงการมีลมช่วยพัดจะทำให้ลูกยางลอยออกไปได้ไกล
การร่อนของลูกยางคล้ายปีกเครื่องบินตรงที่ส่วนบนของปีกมีความยาวมากกว่าส่วนล่างเวลาลูกยางเคลื่อนที่ในอากาศ ความดันของอากาศบนปีกจะต่ำกว่าความดันใต้ปีกทำให้ปีกลอยตัวตัวแรงโน้มถ่วง
จะดึงลูกยางตกลงมาแต่ปีกและส่วนของผลจะช่วยพยุงให้ตกช้า ซึ่งมุมของปีกที่มีต่อการเคลื่อนที่เรียกว่า
มุมปะทะ จะทำให้เกิดแรงบิด ลูกยางจึงหมุมรอบแกนดิ่งระหว่างตก
- ครั้งแรกปั้นเป็นรูปทรงกลมจากนั้นนำดินน้ำมันหย่อนลงน้ำสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ดินน้ำมันจมลงไปในน้ำ
- ครั้งที่สองปั้นเป็นรูปเรือและขันจากนั้นนำดินน้ำมันหย่อนลงน้ำสิ่งที่เกิดขึ้นคือดินน้ำมันสามารถลอยน้ำได้
ทำให้เราสรุปได้ว่า รูปร่างมีผลต่อการลอยน้ำหรือจมน้ำของวัตถุ เพราะดินน้ำมันที่เราปั้นเป็นทรงกลมแรงพยุงมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับดินน้ำมันที่ปั้นเป็นเรือที่มีส่วนที่ลอยอยู่เหนือน้ำมากกว่าส่วนที่จมทำให้แรงพยุงมีมากพอที่จะทำให้ลอยอยู่ได้
ออกแบบกิจกรรมการทดลอง เพื่อไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.Air อากาศ
2. Air pressure ความดันอากาศ
3. Buoyant force แรงพยุง
4. Gravitational force แรงโน้มถ่วง
5. Shape รูปร่าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
คลิปการนำเสนอวิจัย
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...
-
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...
-
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 13:30-17:30 น. (เรียนชดเชยของวันศุกร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2563 ) เนื้อหาที่เ...