การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
Science portfolio for early childhood semester 1/2020
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
คลิปการนำเสนอวิจัย
ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2557
คลิปการทดลอง “ขวดโหลสีรุ้ง”
การทดลอง “ขวดโหลสีรุ้ง”
อุปกรณ์การทดลอง
1.น้ำสี
2.น้ำมันพืช
3.แอลกอฮอล์
4.ขวดโหล
วิธีการทดลอง
1.เทน้ำสีใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
2.ค่อยๆเทน้ำมันพืชลงไปปล่อยให้ไหลไปตามแถบภาชนะ
3.เทแอลกอฮอล์ลงบนน้ำมันพืชอย่างเบามือ
ผลการทดลอง
จะเห็นของเหลวที่เราเทลงไปนั้นเกิดการแยกตัวออกเป็น 3 ชั้นอย่างชัดเจน เนื่องจากน้ำสี น้ำมันพืช และแอลกอฮอล์มีความหนาแน่นต่างกันซึ่งสารที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าจะลอยอยู่เหนือสารที่มีความหนาแน่นสูงกว่า ไม่สามารถผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันได้
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
เนื้อหาที่เรียน
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุด
การทดลองวิทยาศาสตร์ครูต้องเริ่มจากการตอบคำถามของเด็กๆ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก
1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ
2.อุปกรณ์การทดลอง
3.การนำเข้ากิจกรรม
4.เริ่มกิจกรรม
5.ขั้นสรุป
6.การบูรณาการ
การกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง
กิจกรรม
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนทำมายแมพหน่วยการเรียนรู้และออกแบบการทดลอง
ที่เกี่ยวข้องกับหน่วย
"การทดลองไข่ลอยไข่จม"
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Water resources แหล่งน้ำ
2. Float ลอย
3. Dam เขื่อน
4. Accident อุบัติเหตุ
5. Travel การท่องเที่ยว
การประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจอธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำมายแมพและการออกแบบการทดลอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและแก้ไขงานตามที่อาจารย์แนะนำ
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและแก้ไขงานตามที่อาจารย์แนะนำ
คลิปการทดลอง “การหักเหของแสง”
คลิปการทดลอง เรื่องการหักเหของแสง✨
การหักเหของแสง คือ การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนจากแนวเดิม
การทดลอง รูปวาดที่หายไป
อุปกรณ์
1. กระดาษ
2. ซองพลาสติก
3. แก้วน้ำ
4. ปากกาสี
วิธีการทดลอง
1.วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ
2.นำภาพที่วาดเสร็จแล้วใส่ซองพลาสติก
3.นำซองพลาสติกจุ่มลงในน้ำที่เตรียมไว้
4.สังเกตการหักเหของแสง
ผลการทดลอง
การที่เราเห็นวัตถุเกิดจากแสงจากวัตถุที่เข้าตาเราจากแสงวัตถุในน้ำที่เข้าตาเราจะมีการเบนเมื่อแสงจากน้ำสู่อากาศ
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.
(วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลาเรียน 12:30)
เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4.ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนาน และความพอใจ
5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
บทบาทของครู
1. หาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมี
2.จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม
3. จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
4.ควรมีการแนะนำวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจหรืออยากเข้ามาจับต้อง
5. ครูควรส่งเสริมด้านการสำรวจค้นคว้าของเด็ก
6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้หาสาระการเรียนรู้อื่นๆ
7. การสรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ
การสอนวิทยาศาสตร์ครูจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก
2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์
3. วางแผนจัดประสบการณ์
4. เลือกวัสดุอุปกรณ์
5. การสอน
6. การประเมิน
ภาพกิจกรรม
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
คลิปการนำเสนอวิจัย
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...
-
การคิดเชิงเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ ของ สมคิด ศรไชย เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาว...
-
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2563 เวลาเรียน 13:30-17:30 น. (เรียนชดเชยของวันศุกร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2563 ) เนื้อหาที่เ...